วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

 ให้อธิบายถึงระบบการปกครองของประเทศไทย และวิธีเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกรัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) มาตามที่เข้าใจ
ประเทศไทยมีการปกครองแบบ ระบบรัฐสภา ในระบบรัฐสภาได้มีการคำนึงถึงการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันนี้จึงได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายนิติบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎร มีมาตรการที่จะล้มล้างฝ่ายบริหารได้ ล้มล้างในที่นี้ คือ ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติเปิดอภิปรายฝ่ายบริหารได้อย่างเดียวเท่านั้น รัฐธรรมนูญยังให้อำนาจฝ่ายบริหารในการที่โต้ตอบฝ่ายนิติบัญญัติ โดยการยุบสภา ซึ่งตรงนี้ก็คือ แนวความคิดในเรื่องอำนาจเท่านั้นที่จะหยุดยั้งอำนาจเดียวกันได้ หรือ การถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) รัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในระบบสัดส่วน 80 คน กล่าวคือ ส.ส. มีที่มาจากประชาชนโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ ก.ก.ต. ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง ในส่วนของการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 480 คน นั้นแยกเป็น 2 ประเภท คือ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน โดย 1 เขตมี ส.ส. ได้ 2 หรือ 3 คน แล้วแต่จำนวนประชากรในเขตนั้นๆ กับ ส.ส. สัดส่วนจากบัญชีรายชื่อพรรคแต่ละกลุ่มจังหวัดอีก 8 กลุ่มๆ ละ 10 คน รวมเป็น ส.ส. สัดส่วน จำนวน 80 คน (มาตรา 94, 95)
ในส่วนของ ส.ว. จำนวน 150 คนนั้นมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน 76 จังหวัด รวม 76 คน รวมกับที่มาจากการสรรหาอีก 74 คน โดยคณะกรรมการสรรหา (มาตรา 112)
(ดูรายละเอียดในรัฐธรรมนูญตามมาตราที่วงเล็บให้ท้ายคำตอบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องด้วยนะคะ)